วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2555

7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่


7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่
เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ หรือเดิมคือ เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน จัดทำขึ้นโดยองค์กรของสวิตซ์ The New Open World Corporation (NOWC) ซึ่งผลสรุปสุดท้ายได้ประกาศเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ที่กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยไม่เรียงตามลำดับคะแนน


1.ชิเชน อิตซา คาบสมุทรยูคาตาน เม็กซิโก



         ชิเชน อิตซาเป็นภาษามายาแปลว่า ต้นทางแห่งความสุขสบายของประชาชน ชิเชน อิตซาเป็นวิหารที่โด่งดังที่สุดของชนเผ่ามายา ถือเป็นศูนย์กลางด้านการเมืองและเศรษฐกิจของอารยธรรมมายา การผสมผสานทางโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างหลากหลายชนิดของชิเชน อิตซา ทั้งพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคาน (เทพเจ้าสูงสุดของชาวมายาซึ่งเป็นผู้สร้างมนุษย์) วิหารชัค มุล (รูปปั้นซึ่งเป็นศิลปะแบบมายา) ห้องโถงที่เต็มไปด้วยเสาหลายพันต้นและลานกว้างที่ใช้เป็นที่ชุมนุมของประชาชนในอดีตนั้น แสดงให้เห็นถึงความพิเศษในเชิงสถาปัตยกรรมด้านการจัดวางองค์ประกอบของเนื้อที่และพื้นที่ใช้สอย โดยเฉพาะในส่วนของพีระมิดแห่งเทพเจ้าคูคุลคานซึ่งถือเป็นพีระมิดแห่งสุดท้ายและเป็นพีระมิดที่กล่าวได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดของอารยธรรมมายาด้วย

2.รูปปั้นพระเยซูคริสต์ นครริโอเดอจาเนโร บราซิล



             รูปปั้นพระเยซูคริสต์นี้ตั้งอยู่ที่ยอดเขากอร์โกวาโด มีความสูงราว 38 เมตร ได้รับการออกแบบโดยไฮตอร์ ดาซิลวา คอสตา ชาวบราซิล และสร้างโดยพอล ลันดอฟสกี้ ประติมากรชาวฝรั่งเศสเชื้อสายโปแลนด์ ใช้เวลาในการสร้าง 5 ปี โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ตุลาคม ปี พ.ศ.2474 รูปปั้นพระเยซูคริสต์นี้ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของนครริโอเดอจาเนโร และเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของชาวบราซิล มีนักท่องเที่ยวเดินทางมายังสถานที่แห่งนี้ราว 1,800,000 รายต่อปี

3.มาชู ปิกชู ประเทศเปรู



              ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรพรรดิ ปาชาคูเทค ยูปันกี ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งอาณาจักรอินคา ได้สร้างเมืองแห่งหนึ่งบนภูเขาซึ่งปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกชื่อว่า มาชู ปิกชู (มีความหมายว่าภูเขาโบราณ) ปัจจุบันอยู่ในประเทศเปรู ที่ตั้งของเมืองนี้ค่อนข้างกันดารยากที่จะเข้าถึง โดยตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอนดิส ลึกเข้าไปในป่าอเมซอนและอยู่เหนือแม่น้ำอุรุบัมบา ซึ่งภายหลังชาวอินคาได้อพยพออกจากเมืองนี้เนื่องจากเกิดโรคระบาดขึ้น หลังจากอาณาจักรอินคาล่มสลายจากการพ่ายแพ้สงครามให้กับชาวสเปน เมืองแห่งนี้ก็ได้หายสาบสูญไปกว่า 3 ศตวรรษ จนกระทั่งได้รับการค้นพบใหม่โดยฮิราม บิงแฮม นักโบราณคดีชาวอเมริกัน ในปี พ.ศ.2454

 4.กำแพงเมืองจีน


          กำแพงเมืองจีนตั้งอยู่บนพรมแดนทางตอนเหนือของประเทศจีน เริ่มต้นสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน (ราวปี พ.ศ.322-337 หรือ 221-206 ปีก่อนคริสตกาล) โดยมีจุดประสงค์ในการเชื่อมโยงป้อมปราการให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่ามองโกลในอดีต มีความยาวทั้งสิ้นกว่า 6,700 กิโลเมตร ถือเป็นสิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ที่ยาวที่สุดในโลกเท่าที่เคยมีมา ผู้คนจำนวนหลายพันคนต้องอุทิศชีวิตให้กับสิ่งก่อสร้างขนาดมหึมานี้ นอกจากนี้ เคยมีผู้กล่าวไว้ว่ากำแพงเมืองจีนเป็นสิ่งก่อสร้างเพียงอย่างเดียวในโลกที่สามารถมองเห็นได้จากอวกาศ กำแพงเมืองจีนได้รับการคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ.2529

 5.เปตรา ประเทศจอร์แดน



           เปตราเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าหิน เมืองโบราณเปตราตั้งอยู่ในทะเลทราย เป็นเมืองหลวงของชนเผ่านาบาเชียนซึ่งเป็นชนเผ่าที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจอร์แดนในสมัยก่อน สร้างขึ้นในสมัยของกษัตริย์อาเรตัสที่ 4 (9 ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.40) ชาวนาบาเชียนสร้างเมืองแห่งนี้โดยใช้วิธีการแกะสลักหินให้เป็นช่องอุโมงค์ โรงละครของเมืองแห่งนี้ซึ่งเป็นต้นแบบของโรงละครแบบกรีก-โรมันมีเนื้อที่สามารถจุผู้ชมได้ถึง 4,000 คน ส่วนหน้าของวิหารเอล เดียร์ ซึ่งสูง 42 เมตร ในเมืองแห่งนี้เป็นตัวอย่างที่ดีอีกแห่งหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกรีกโบราณที่หลงเหลือมาจนถึงทุกวันนี้


6.ทัชมาฮาล เมืองอักรา ประเทศอินเดีย



                 ทัชมาฮาลสร้างขึ้นโดยกษัตริย์ชาห์ จาฮัน เพื่อใช้เป็นที่ฝังศพของพระนางมุมทัซ มาฮาล มเหสีที่พระองค์ทรงรักมากที่สุดซึ่งเสียชีวิตขณะมีอายุได้เพียง 39 ชันษาหลังจากที่ให้กำเนิดบุตรคนที่ 14 ทัชมาฮาลสร้างขึ้นระหว่างคริสต์ศักราช 1631-1648 สร้างโดยใช้หินอ่อนสีขาวทั้งหลัง รวมทั้งใช้วัสดุในการตกแต่งชั้นเลิศจากทั่วเอเชียซึ่งขนส่งโดยใช้ช้างกว่า 1,000 ตัว ทัชมาฮาลได้รับการยอมรับว่าเป็นศิลปะแบบมุสลิมที่สวยงามสมบูรณ์แบบมากที่สุดในอินเดีย นอกจากนี้ ทัชมาฮาลยังเป็นสถานที่ที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดของอินเดีย มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมทัชมาฮาลราวปีละเกือบ 3 ล้านคน


7.สนามกีฬาโคลอสเซียม กรุงโรม ประเทศอิตาลี



            สิ่งก่อสร้างรูปทรงโค้งเป็นวงกลม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางของกรุงโรมแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเชิดชูเหล่านักรบโรมันและเป็นอนุสรณ์ที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรโรมัน สนามกีฬาแห่งนี้สูง 48 เมตร ยาว 188 เมตร และกว้าง 156 เมตร แนวคิดในการออกแบบโคลอสเซียมนี้ยังคงมีความสำคัญมาจนถึงทุกวันนี้ ดังจะเห็นได้จากการออกแบบสนามกีฬาแทบทุกแห่งในโลกนับตั้งแต่นั้นมาต้องปฏิบัติตามแม่แบบดั้งเดิมของโคลอสเซียมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้สิ่งที่ได้รับรู้จากภาพยนตร์และหนังสือบันทึกทางประวัติศาสตร์จะแสดงให้เห็นว่าสนามกีฬาแห่งนี้มีแต่การต่อสู้และการแข่งขันที่โหดร้ายต่างๆ นานา เพื่อความสุขของผู้ชมเท่านั้นก็ตาม

อ้างอิงมาจาก http://webboard.yenta4.com/topic/123899


ศิลปตะวันตกยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ ถึงสงครามโลกครั้งที่๑


Fauvism
Expressionism
Cubism
Abstractionism
Futurism


                                                                               ศิลปะลัทธิโฟวิสม์  Fauvism
 
หมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า
·       เมื่อเปรียบกับรูปแบบศิลปะสมัยเรอแนสซองส์ซึ่งงามตามหลักสุนทรียภาพเดิม
ขณะที่ผลงานของกลุ่มศิลปินศิลปะลัทธิโฟวิสม์กลับให้สีสันโฉ่งฉ่าง 
·       แสดงถึงความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด


                                                      ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์    Expressionism Art



·   ภาษาละติน  “Expressare”
·   Ex มีความหมายว่า  “ออกมา
·   pressare มีความหมายเท่ากับกด ดัน คั้น บีบ

หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะ ที่ตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุด ตามแรงปรารถนา
แรงปรารถนา = ความรู้สึกและอารมณ์ของศิลปิน
การแพร่หลายของลัทธิเอกเพรสชันนิสม์
          ครอบคลุมวรรณกรรม ดนตรี ศิลปะการแสดงปลายC.19 และต้นC.20   (สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เว เบลเยียม เยอรมนี) ศิลปินสำคัญ ได้แก่  มาทีสส์ (Henri Matisse), เบคมานน์( Max Beckmann),รูโอลท์ ( Georges Rouault),Gen Paul, มาร์ค(Franz Marc),  แคนดินสกี(Wassily Kandinsky) โนลเด(Emil Nolde)



                                                                                                 Cubism Art


 
ลัทธิคิวบิสม์เชื่อว่านอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความจริงที่ตาเห็นแล้วยังต้องกลั่นกรอง วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงเหลือเพียงแก่นแท้ที่มั่นคงแข็งแรง
               ลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่ายจากผลงานของเซซานน์ โดยแทนค่ารูปทรงด้วยแสงสีอันระยิบระยับ ให้บรรยากาศตามช่วงเวลาเท่านั้น


                                                                   ศิลปะลัทธินามธรรม   Abstractionism Art


  



     ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนธาตุ ( เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว )   ไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ

 ศิลปะนามธรรม   จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่  คือ

1.ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก  2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิค
1.ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก สร้างงานที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ
2.ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิก
สร้างงานที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์


                                                                     ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)


 



        ศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมในประเทศของตนอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ ได้ชื่อจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงาน คือ
·       มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล ที่แพร่ในยุโรป
·       ต้องการแสดงออกถึงลักษณะของสังคมยุคใหม่
·       เห็นความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง
· ศิลปะฟิวเจอริสม์จึงเป็นการสร้างผลงานแสดงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจุบันที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์
· ศิลปินมักจะใช้เนื้อหาของงานที่เกี่ยวความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน บุคคล สัตว์ หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว
เช่น วงล้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และแสงสี

อ้างอิงมาจาก
เอกสารประกอบการเรียนการสอน อาจารย์พิทยะ ศรีวัฒนสาร


ยุคบารอค ยุครอคโคโค ยุคเรเนอซองส์


ศิลปะแบบบารอค

 พระราชวังแวร์ซายส์

         เป็นศิลปะที่พัฒนามาจากศิลปะแบบเรเนสซองส์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 มีลักษณะเฉพาะ คือ การแสดงออกถึงความมีอิสรภาพของมนุษย์ตามแนวความคิดมนุษยนิยม ( Humanism) ผลงานที่ปรากฎ มักแสดงออกถึงลักษณะแน่นอนตายตัวของศิลปิน
        ศิลปะแบบบารอค เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐต่างๆ ในยุโรปมีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจและมีความมั่งคั่งทางการเมือง เป็นผลให้พระราชวงศ์ ขุนนาง และพ่อค้ามีความพร้อมที่จะอุปถัมภ์การสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินแขนงต่างๆ ได้อย่างเต็มที่
งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมแบบบารอค
     1. งานจิตรกรรม ส่วนใหญ่ยังคงรับรูปแบบและเทคนิคจากสมัยเรเนสซองส์ แต่ได้พัฒนาฝีมือและเทคนิคการผสมสีที่วิจิตงดงามยิ่งขึ้น นิยมใช้สีสดและฉูดฉาด ภาพวาดมักปรากฎตามวัด วัง และคฤหาสน์ของชนชั้นกลางผู้มั่งคั่ง แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่หรูหราสุขสบายของเจ้านายและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคริสต์ศาสนา
     2. งานสถาปัตยกรรม แสดงออกถึงความใหญ่โตหรูหรา และการประดับประดาที่ฟุ่มเฟือย โดยนำความรู้ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้งานก่อสร้างมากขึ้น ผลงานชิ้นสำคัญของศิลปะแบบบารอค คือ พระราชวังแวร์ซายส์ ( Versailles ) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส
     3. ศิลปะด้านดนตรี มีการพัฒนาไปมากทั้งการร้องและการบรรเลงเครื่องดนตรี ขนาดของวงดนตรีขยายใหญ่ จากแบบ Chamber Music ที่ใช้ผู้เล่นไม่กี่คน มาเป็นแบบ Orchestra ที่ใช้ผู้เล่นและเครื่องดนตรีจำนวนมาก มีการแต่งเพลงและใช้โน้ตเพลง และเปิดการแสดงดนตรีในห้องโถงใหญ่ๆ นักดนตรีสำคัญ คือ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ชาวเยอรมัน ซึ่งแต่งเพลงทางด้านศาสนาเป็นส่วนใหญ่
     4. งานด้านวรรณกรรม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมยุโรป มีผลงานชิ้นเอกของนักประพันธ์ชาวอังกฤษและฝรั่งเศสเกิดขึ้นมากมาย ที่เด่นคือ งานเขียนทางปรัชญาการเมืองของ จอห์น ลอค ( John Lock) และผลงานของนักเขียนบทละครเสียดสีสังคมชั้นสูง ชื่อ โมลิแอร์ ( Moliere) เป็นต้น




อ้างอิงจาก
http://202.143.144.83/~skb/computor/ganjana/west_modern_baroque.htm




                                                                     ศิลปะร็อคโคโค



Venus et l'amour โดย ฟรังซัวส์ บูแชร์

              ศิลปะร็อคโคโค (Rococo) หมายถึง ศิลปะการตกแต่งภายในอาคารและรูปลักษณ์ของลวดลายที่หรูหรา เป็น ศิลปะยุคท้ายของสมัยบาร็อค มีรูปแบบที่แสดงถึงความต้องการของบุคคลสังคมชั้นสูง

   ลักษณะของงานศิลปะที่สำคัญ
   จิตรกรรม 
  - งานจิตรกรรมของร็อคโคโค มักจะถ่ายทอดหรือสะท้อนสภาพสังคมที่หรูหราในยุคนั้น
  - ภาพทิวทัศน์มีการให้แสงที่นุ่มนวล บรรยากาศคล้ายความฝัน
  - ภาพหญิงสาวจะมีผิวขาวอมชมพู มีอารมณ์ร่าเริง
  - เรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยาย

 งานประติมากรรม
  - มีจุดเด่นคือความประณีต
  - ร่างกายคนมีลักษณะผอม บอบบาง นุ่มนวล แสดงความเคลื่อนไหวอย่างอ้อนช้อยคล้ายงานจิตรกรรม
งานสถาปัตยกรรม
- มีความละเอียดหรูหรา มีเส้นโค้งฉวัดเฉวียน ให้ความนุ่มนวล อ่อนหวานบอบบาง
- ผลงานศิลปะประยุกต์ ที่เป็นแบบอย่างศิลปะร็อคโคโค เช่น การตกแต่งภายใน การออกแบบเครื่องเรือน
เครื่องมือเครื่องใช้ มีรูปทรงบอบบาง ประดับลวดลายเป็นเส้นคดเคี้ยว คล้ายหยดน้ำ หรือขมวดคล้ายก้นหอย 


อ้างอิงจาก
http://krookong.net/west_arts/Miderval_ege/Rococo_art.html


                                                                     ยุคเรเนอซองส์

ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ ยุคเรอเนซองส์ (Renaissance) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ ยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมอยู่ระหว่างยุคกลาง (Middle Age) และยุคปัจจุบัน (Modern Age) การเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมเริ่มต้นในประเทศอิตาลีในคริสต์ทศวรรษที่ 14 และยุโรปเหนือในคริสตทศวรรษที่ 16
ประวัติของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
            หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานร่วม 300 ปีสิ้นสุดลง ยุโรปก็เข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เนื่องจากมีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน ทำให้ยุโรปได้นำศิลปวิทยาการจากการขุดค้นพบมาปรับปรุง ดัดแปลงใหม่ ทำให้ยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าในศาสตร์ทุกๆด้าน อาทิเช่น
             ศิลปศาสตร์ ศิลปินและผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้วาดรูปโมนาลิซ่า ไมเคิล แองเจลโล ผู้ปั้นรูปปั้นเดวิด ซึ่งเชื่อว่าเป็นชายที่มีสัดส่วนสมบูรณ์ที่สุดในโลก ราฟาเอล ผู้กำกับการสร้างและตกแต่ง มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ เป็นต้น
             เทคโนโลยี เทคโนโลยีที่สำคัญคือ เทคโนโลยีการต่อเรือ โดยชาติที่เป็นผู้ริเริ่มคือ โปรตุเกส และ สเปน ซึ่งทำให้การติดต่อค้าขายกับเอเชียสะดวกขึ้น
           วิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น กาลิเลโอ ผู้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วง เป็นต้น
ตัวอย่างศิลปะแบบเรเนสซองค์ในไทย เช่น พระราชวังพญาไท
ศิลปะ
             ศิลปะเรอเนซองส์ (พ.ศ. 1940 - 2140) คำว่า "เรอเนซองส์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรอนเนซองส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และ ธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ และวิทยาการแขนงต่างๆ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่างๆ ในยุโรป
              ในสมัยเรอเนซองส์ วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้าง และอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่างๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดิชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มิเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในยุคเรอเนซองส์นี้เอง ที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนี ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อ้างอิงจาก
http://topten003.fix.gs/index.php?action=printpage;topic=93.0




วันพุธที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์ตนเองอยู่ในสมัยไหน



Postmodernism
โพสต์โมเดิร์นนิสม์  หรือ 
ลัทธิหลังสมัยใหม่



   “โพสต์ โมเดิร์น” “หลังสมัยใหม่ในภาษาอังกฤษคือ post-modern หรือบ้างก็เขียนว่า postmodern หรือ ลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodernism, โพสต์โมเดิร์นนิสม์)


        เป็นที่เข้าใจกันว่าคำว่า โพสต์โมเดิร์นนิสม์ ปรากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ อาร์คิเทคเจอร์ แอนด์ เดอะ สปิริต ออฟ แมน” (Architecture and the Spirit of Man) ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปี 1949 ต่อมาอีก 20 ปีให้หลัง ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ช่วยทำให้แพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ในตอนนั้นคำว่า โพสต์โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (โมเดิร์นนิสม์)
               นักทฤษฎีทั้งหลายเชื่อว่าการเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ หลังสมัยใหม่ นั้นบ่งบอกถึงสำนึกที่ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจ บรรษัทข้ามชาติขนาดมหึมาได้ก้าวเข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมหาชนที่ทรงพลัง ซึ่งได้เข้ามาทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมาย (ในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม) ตัวอย่างเช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนดูคนอ่านในระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว
               ลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมได้ทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ สมัยใหม่กับ หลังสมัยใหม่ชัดเจนขึ้น
             “หลังสมัยใหม่เป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน ความเป็นสมัยใหม่หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน ความเจริญหรือ ความก้าวหน้าแบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจ (หรือตอนนั้นยังไม่รู้) ผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
           ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ สมัยใหม่ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ หลังสมัยใหม่มีความปราถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเล็คโทรนิคมากกว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ ศิลปะกระแสหลักที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิ มินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุด จนเปรียบได้ว่ากลับไปที่เลขศูนย์เลยทีเดียว รูปทรงในศิลปะถูกลดทอนจนเปลือยเปล่า แทบจะไม่มีอะไรให้ดู
          การมองโลกในแง่ดีและความคิดในเชิงอุดมคติแบบลัทธิสมัยใหม่ต้องหลีกทางให้แก่ความรู้สึกที่ความหยาบกร้านและข้นดำของลัทธิ หลังสมัยใหม่
         ศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ เติบโตขึ้นจาก พ็อพ อาร์ต (Pop Art), คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 โดยแท้ พวก หลังสมัยใหม่ ได้ทำการรื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็นสาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เว็นทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960 ได้เขียนแสดงความเห็นในงานเขียนที่ชื่อ คอมเพล็กซิตี้ แอนด์ คอนทราดิคชัน อิน อาร์คิเทคเจอร์” (Complexity and Contradiction in Architecture) (ปี 1966) เกี่ยวกับ หลังสมัยใหม่เอาไว้ว่า คือปัจจัย (ต่างๆ) ที่เป็น ลูกผสมแทนที่จะ บริสุทธิ์”, “ประนีประนอมแทนที่จะ สะอาดหมดจด”, “คลุมเครือแทนที่จะ จะแจ้ง”, “วิปริตพอๆกับที่ น่าสนใจ
         ด้วยกระแส ลัทธิหลังสมัยใหม่ ทำให้ศิลปะในแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่ (ที่ทำงานแนวนามธรรม) ปฏิเสธไม่ยอมทำ เช่น การกลับไปเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพวก หลังสมัยใหม่ ยังท้าทายการบูชาความเป็นต้นฉบับ ความเป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครของพวกสมัยใหม่ ด้วยการใช้วิธีการที่เรียกว่า หยิบยืมมาใช้” (Appropriation, แอ็บโพรพริเอชัน) มาฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง เสียดสีบ้าง
           ในแวดวงทฤษฎีเกี่ยวกับศิลปะ หลังสมัยใหม่ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่นงานทางความคิดของ มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson)
          ปรากฏการณ์อย่างหนึ่งในกระแสศิลปะแบบ หลังสมัยใหม่ ในตะวันตกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือ นิทรรศการศิลปกรรมย้อนหลัง สำหรับศิลปินที่ดังตั้งแต่อายุ 30 กว่าๆ ทำให้เกิดแรงกดดันต่อศิลปินในการที่จะต้องประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ในหลายกรณีได้ทำให้เกิดการประนีประนอมระหว่างการ ประสบความสำเร็จในอาชีพศิลปินกับ อุดมการณ์ทางศิลปะซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้นกับศิลปินในลัทธิสมัยใหม่เลย


สาเหตุที่คิดว่าตนเองอยู่ในยุคนี้เพราะว่ามีความคล้ายคลึงกับตนเองเเเละสังคมปัจจุบันคือ

1.การปฏิเสธศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ การปฏิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง 


2.การปฏิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์ อาจเป็นหลายเรื่องซ่อนเร้นกัน


3. Post modern คัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม


4.Post modern ปฏิเสธจุดเริ่มต้น จึงปฏิเสธประวัติศาสตร์แต่โหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง


    ความคิดโพสต์โมเดิร์นเป็นทั้งการวิพากษ์และการตั้งคำถามที่มีต่อโลกแบบโมเดิร์นของตะวันตก ซึ่งมองว่าการสร้างสังคมสมัยใหม่ของโลกตะวันตกที่ได้กำเนินมานั้นไม่ได้พัฒนาความสุข การหลุดพ้น หรือชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล อย่างที่กล่าวอ้างกัน เป็นเพียงการสร้างวาทกรรมผ่านภาษา เพียงเพื่อครอบงำสังคมอื่นเพื่อชิงความได้เปรียบในหลายปัจจัย





อ้างอิงจาก
http://www.designer.co.th/artistic-movement/postmodernism.html